จีพีเอสนําทาง มือถือ

ประโยชน์ของ จีพีเอสนําทาง มือถือ คืออะไร?

จีพีเอสนําทาง มือถือ

จีพีเอสนําทาง มือถือ ในปัจจุบันการใช้ GPS ในชีวิตประจำวันเริ่มมีมากขึ้น และมีการใช้งานที่หลากหลายรูปแบบ เนื่องจากระบบ GPS ถูกนำมาติดตั้งในโทรศัพท์มือถือ ทำให้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือมีความสะดวกและเห็นความสำคัญกับระบบ GPS มากขึ้น และระบบ GPS ยังมีประโยชน์อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้เพื่อประโยชน์ในการประกอบธุรกิจ เช่น การแจ้งเส้นทางและพิกัดของร้าน หรือสำนักงาน การนำทางไปยังสถานที่ที่ไม่คุ้นเคย การใช้งานเพื่อการท่องเที่ยว ไม่ว่าในประเทศหรือต่างประเทศ ซึ่งหากมีระบบ GPS นำทางแล้ว โอกาสที่จะหลงทางย่อมมีน้อยลง

ประโยชน์ของ GPS ในโทรศัพท์มือถือ

  • การนำไปใช้กับระบบนำทาง หรือ GPS นำทาง เมื่อเราออกเดินทางโดยไม่ทราบตำแหน่งของจุดที่เราจะไป เราสามารถค้นหาเส้นทางจากระบบนำทางของ GPS ที่มีอยู่ในโทรศัพท์มือถือได้ เพราะระบบนี้สามารถบอกตำแหน่ง ณ จุดที่สามารถรับสัญญาณได้ทั่วโลก
  • การนำข้อมูล GPS มาประกอบกับภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อการท่องเที่ยว การทำงานรายกิจกรรมต่างๆ เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันโทรศัพท์มือถือส่วนใหญ่จะมี Application รองรับสัญญาณ GPS
  • ประโยชน์ด้านอื่นๆ เช่น กำหนดพิกัดของสถานที่ต่างๆ การใช้ประโยชน์กับที่ดิน การกำหนดจุดเพื่อบรรเทาสาธารณะภัยเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย หรืการส่งสินค้า เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าระบบ GPS เมื่อนำมาใช้กับโทรศัพท์มือถือที่สามารถพกพาไปได้ทุกสถานที่ จะช่วยให้การใช้งาน GPS มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น เมื่อทราบประโยชน์ของ GPS แล้ว ก็อย่าลืม share location กันด้วยนะครับ และเพื่อความปลอดภัยไม่ควร share location ในสถานที่ที่ไม่ปลอดภัย ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันผู้ที่ไม่ประสงค์ดีกับเรานั่นเอง

นอกจากประโยชน์ข้างต้นของ gps ที่กล่าวมาแล้ว การนำgps นำทางมาประยุกต์ใช้งาน อย่างระบบ logistics ธุรกิจบริการส่งสินค้านั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอับเดทระบบ gps ให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ การทราบจุดหมายปลายทางที่ชัดเจนทำให้จัดส่งสินค้าได้ไว ระบบgps นั้นช่วยได้มาก ยังมีอีกหลายๆกิจกรรม อย่างระบบขนส่งที่สามารถอับเดท gps การเดินรถตลอดเส้นทาง ปริมาณผู้โดยสารต่อเที่ยว ณ.ขณะนั้น จะช่วยในเรื่องการลดความแออัดลงได้ ซึ่งเป็นแนวทางการประยุกต์ gps มาใช้งานในชีวิตประจำวัน

การทำงานของระบบนำทางด้วย GPS

เมื่อเรามีโทรศัพท์มือถือที่สามารถรับสัญญาณ GPS ได้แล้วนั้นระบบนำทางจะเริ่มทำงานเมื่อมีการเปิดรับสัญญาณ GPS แล้วตัวโปรแกรมจะแสดงตำแหน่งปัจจุบันบนแผนที่ แผนที่สำหรับนำทางจะเป็นแผนที่พิเศษที่มีการกำหนดทิศทางการจราจร เช่น การจราจรแบบชิดซ้าย หรือชิดขวา

ข้อมูลการเดินรถทางเดียว จุดสำคัญต่างๆ ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ต่างๆ ฝังไว้ในข้อมูลแผนที่ที่ได้จากการสำรวจและตั้งค่าไว้แล้ว ในแต่ละทางแยกก็จะมีการกำหนดค่าเอาไว้ด้วยเช่นกันเพื่อให้ตัวโปรแกรมทำงาน เลือกการเชื่อมต่อของเส้นทางจนถึงจุดหมายที่ได้เลือกไว้

การคำนวณเส้นทางนี้จะถูกคำนวณให้เสร็จตั้งแต่แรก และตัวโปรแกรมจะแสดงผลทั้งภาพและเสียงตามตำแหน่งจริงที่อยู่ ณ จุดนั้น หากมีการเดินทางออกนอกเส้นทางที่กำหนดไว้ เครื่องจะทำการเตือนให้ผู้ใช้ทราบและจะคำนวณให้พยายามกลับสู่เส้นทางที่ได้วางแผนไว้ก่อน หากการออกนอกเส้นทางนั้นอยู่เกินกว่าค่าที่กำหนดไว้ก็จะมีการคำนวณเส้นทางให้ใหม่โดยอัตโนมัติ

GPS นำทางแบ่งเป็น 2 ระบบ

  • จีพีเอส นำทางระบบ Windows CE เป็นระบบนำทางมาตรฐาน สามารถใช้นำทางได้ทันทีแต่จะมีฟังก์ชั่นน้อยกว่าระบบ Android เช่น เชื่อมต่อ Internet ไม่ได้ ไม่มีกล้องและเรดาร์
  • GPS นำทางระบบ Android เป็น ระบบนำทางรุ่นใหม่ล่าสุด เครื่อง CPU ทันสมัย จอภาพสว่างสีสดใส มีฟังก์ชั่นให้เลือกใช้สอยมากกว่าระบบ Windows เช่น สามารถเชื่อมต่อ Internet ( Wifi ) ได้ บางรุ่นมีกล้องหน้าในตัว และบางรุ่นมีทั้งระบบนำทาง กล้องติดรถยนต์ และเรดาร์ในเครื่องเดียวกัน

วิธีการใช้งาน GPS นำทางสิ่งแรกที่ผู้ใช้จะต้องมี คือ จีพีเอส รถบรรทุก เครื่องรับสัญญาณ หรือ อุปกรณ์ GPS นำทาง โดยเมื่อคุณนำเอาเครื่องไปใช้งานแล้วเปิดรับสัญญาณ GPS โปรแกรมจะแสดงตำแหน่งที่ตั้งปัจจุบันบนแผนที่

สำหรับ GPS นำทางจะมีแผนที่พิเศษที่มีการกำหนดทิศทางการจราจร เช่น การจราจรแบบชิดซ้ายหรือชิดขวา ข้อมูลการเดินรถทางเดียว จุดสำคัญต่าง ๆ ข้อมูลสภาพการจราจร และข้อมูลทางภูมิศาสตร์ ฝังไว้ในข้อมูลแผนที่ โดยทำการสำรวจและตั้งค่าไว้เรียบร้อยแล้ว

ซึ่งในแต่ละทางแยกก็จะมีการกำหนดค่าไว้เช่นกัน เพื่อให้ตัวโปรแกรมเชื่อมต่อกับเส้นทางจนถึงจุดหมายที่เลือกไว้ นอกจากนี้ยังมีระบบเสียงนำทางที่ทำงานควบคู่ไปกับระบบนำทางของ GPS เช่น ถ้าเส้นทางข้างหน้าจะต้องทำการเลี้ยวขวาก็จะกำหนดให้มีการแสดงเสียงเตือนให้เลี้ยวขวาก่อนถึงจุดเลี้ยวนั้น ๆ

อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับ GPS นำทาง

ในปัจจุบันตัวเครื่องมีอุปกรณ์ทุกอย่างในตัว สะดวกสำหรับการใช้งานและมีความเสถียรสูง เช่น PND (Personal / Portable Navigation Device) หรือแบบที่ใช้ GPS Receiver ร่วมกับ PDA (Personal Digital Assistant) สมาร์ทโฟน โน้ตบุ๊ค เป็นต้น หรือในสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ก็จะมี GPS มาให้เลือกใช้หลายรุ่น ทำให้สะดวกเมื่อต้องการใช้งานในสถานการณ์ที่เกิดหลงทางหรือค้นหาสถนที่ต่าง ๆ ที่ต้องการ ซึ่งมีส่วนประกอบคร่าวๆดังนี้

  • ตัวรับสัญญาณจากดาวเทียม (GPS Receiver Module)
  • ตัวประมวลผล (CPU)
  • โปรแกรมที่ใช้สำหรับการนำทาง (Software)
  • แผนที่ที่ใช้สำหรับการนำทาง (Map Data)

นอกจากอุปกรณ์หลักที่กล่าวมาข้างต้น ยังมีอุปกรณ์เสริมอื่น ๆ อีก เช่น เสารับสัญญาณแบบภายนอกแบบติดเฉพาะเครื่องต่อเครื่อง หรือตัวกระจายสัญญาณ (GPS Radiator) เพื่อให้สามารถใช้ GPS ในที่อับสัญญาณได้ เช่น รถยนต์ที่ติดฟิล์มเคลือบปรอท หรือภายในอาคารต่าง ๆ

ที่มาของแผนที่บน GPS นำทาง

นอกจากผู้ใช้จะมีเครื่องรับสัญญาณ GPS และ GPS หน่วยประมวลผล โปรแกรมแผนที่และข้อมูลแผนที่จะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการใช้งานในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป การรับสัญญาณจากดาวเทียมจะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ต่างจากการใช้งานในรูปแบบที่ใช้ประกอบกับแผนที่จะมีค่าใช้จ่ายในส่วนของแผนที่ที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งความแตกต่างนี้ขึ้นอยู่กับบริษัทที่จัดทำแผนที่

โดยแผนที่นำทางที่ใช้บน GPS มีข้อจำกัด คือ ไม่สามาถนำมาใช้ต่างค่ายได้ อีกทั้งแผนที่ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของตัวเครื่อง ที่ไม่สามารถนำแผนที่ จากเครื่องหนึ่งไปใช้กับอีกเครื่องอื่นได้ จะต้องมีการป้อนรหัสที่ทางบริษัท เป็นผู้กำหนดไว้ จึงจะสามารถใช้งานได้

การสร้างแผนที่นำทาง จำเป็นต้องมีข้อมูลทางภูมิศาสตร์ โดยการสำรวจพื้นที่ จะต้องใช้บุคลากรจำนวนมาก และจำเป็นต้องทำเป็นประจำบ่อย ๆ เนื่องจากสภาพทางภูมิศาสตร์มักมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้การสร้างแผนที่นำทางมีต้นทุนที่ค่อนข้างสูง

ในการสร้างแผนที่นำทางเริ่มจากการ ที่ใช้ภาพถ่ายทางอากาศ จากดาวเทียมมาต่อซ้อนกัน เพื่อให้เห็นภาพรวม ของภูมิประเทศ แล้วจึงจะนำไปกำหนดจุดอ้างอิง ทางภูมิศาสตร์ เป็นค่าพิกัดดาวเทียม จากนั้นจึงเริ่มการสร้างข้อมูลต่าง ๆ เช่น ถนน สถานที่สำคัญ จุดน่าสนใจ แล้วนำมาประกอบกัน เป็นแผนที่นำทาง

สนใจ เเอดไลน์ LINE : @GeniusGPS

กลับหน้าหลัก