กฏหมาย gps ทำไมต้องติด gps ถ้าไม่ติดผิดกฏหมายหรือไม่?
กฏหมาย gps วันที่ 28 ม.ค. 59 นายสนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า หลังจากกำหนดให้รถโดยสารสาธารณะและรถบรรทุกที่จดทะเบียนใหม่หลังวันที่ 25 มกราคม 2559 ต้องดำเนินการติดตั้ง GPS ทุกคัน และกำหนดให้รถที่ได้มีการติดตั้ง GPS ไว้ก่อนแล้วต้องเชื่อมโยงข้อมูลเข้ากับศูนย์บริหารจัดการเดินรถด้วยระบบ GPS ของกรมการขนส่งทางบก ผู้ประกอบการและเจ้าของรถหลายรายเริ่มทยอยนำรถเข้าตรวจสภาพและตรวจสอบการติดตั้งและเชื่อมโยงข้อมูล เป็นรถจดทะเบียนใหม่ จำนวนทั้งสิ้น 202 คัน ประกอบด้วย รถโดยสารประจำทางและไม่ประจำทาง จำนวน 14 คัน รถบรรทุกไม่ประจำทาง จำนวน 58 คัน และรถบรรทุกส่วนบุคคลจำนวน 130 คัน
สำหรับในส่วนของการตรวจสภาพและตรวจสอบการเชื่อมโยงข้อมูลของรถที่จดทะเบียนไว้ก่อน วันที่ 25 มกราคม 2559 ซึ่งมีการติดตั้ง GPS ไว้ก่อนแล้วนั้น พบว่า มีรถที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลเข้ากับศูนย์บริหารจัดการเดินรถด้วยระบบ GPS เรียบร้อยแล้ว จำนวนทั้งสิ้น 27,108 คัน เป็นรถโดยสาร จำนวน 2,140 คัน รถบรรทุกไม่ประจำทาง จำนวน 14,289 คัน
และรถบรรทุกส่วนบุคคล อีกจำนวน 10,679 คัน ซึ่งกรมการขนส่งทางบกกำหนดให้ รถโดยสารสาธารณะ รถลากจูง และรถบรรทุกขนาดใหญ่ (10 ล้อขึ้นไป) ที่ติดตั้ง GPS ไว้แล้ว ต้องเชื่อมโยงข้อมูลกับศูนย์บริหารจัดการเดินรถของกรมการขนส่งทางบกให้แล้วเสร็จภายในปี 2559
นายสนิท กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับรถโดยสารสาธารณะที่ยังไม่ได้ติดตั้ง GPS ในส่วนของรถโดยสารสองชั้นกำหนดติดตั้งภายในรอบปีภาษี 2559 ส่วนรถโดยสารสาธารณะประเภทอื่นๆ จะต้องดำเนินการติดตั้งให้ครบถ้วนภายในรอบปีภาษี 2560
สำหรับรถลากจูง กำหนดติดตั้งภายในรอบปีภาษี 2560 รถบรรทุกสาธารณะภายในรอบปีภาษี 2561 และรถบรรทุกส่วนบุคคลให้ระยะเวลาดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในรอบปีภาษี 2562
ทั้งนี้ การนำรถเข้ารับการตรวจสอบการติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูล การเดินทางของรถและตรวจสอบว่าเป็นรุ่นที่ได้รับการรับรอง ต้องมีหนังสือรับรองการติดตั้ง และเครื่องหมายรับรองที่ออกโดยผู้ให้บริการระบบติดตามรถ ที่กรมการขนส่งทางบกให้การรับรอง
ซึ่งเครื่องบันทึกข้อมูลดังกล่าวต้องสามารถแสดงตำแหน่งในพิกัด แสดงความเร็วของรถ แสดงจำนวนชั่วโมงการขับขี่ มีอุปกรณ์ระบุตัวผู้ขับรถ มีระบบเตือนเมื่อใช้รถโดยไม่เปิดเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ
ระบบเตือนการไม่แสดงตัวผู้ขับรถ หรือใช้ใบอนุญาตขับรถ ผิดประเภท หากพบมีการรายงานข้อมูลอันเป็นเท็จ หรือไม่รายงานข้อมูล ตามเงื่อนไขที่กำหนด กรมการขนส่งทางบก จะพิจารณาเพิกถอน การให้การรับรองเครื่องบันทึกข้อมูล การเดินทางของรถ โดยผู้ให้บริการระบบติดตามรถจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ความเสียหายทั้งหมด ที่เกิดขึ้น
โทษปรับ การไม่ติดตั้งหรือถอด GPS ของรถ
การปลดหรือถอดเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ ถือเป็นเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ต้องมีและใช้
หากตรวจพบ
- ขณะตรวจสภาพรถประจำปี จะไม่ให้ผ่านการตรวจสภาพ
- ขณะใช้งานบนถนน มีความผิดตามมาตรา 148 มีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท
กฎหมาย GPS เรื่องใกล้ตัว ที่ผู้ประกอบการขนส่งควรทราบ
สนใจ เเอดไลน์ LINE : @GeniusGPS