กฏหมาย gps

กฏหมาย gps ทำไมต้องติด gps ถ้าไม่ติดผิดกฏหมายหรือไม่?

กฏหมาย gps

กฏหมาย gps วันที่ 28 ม.ค. 59 นายสนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า หลังจากกำหนดให้รถโดยสารสาธารณะและรถบรรทุกที่จดทะเบียนใหม่หลังวันที่ 25 มกราคม 2559 ต้องดำเนินการติดตั้ง GPS ทุกคัน และกำหนดให้รถที่ได้มีการติดตั้ง GPS ไว้ก่อนแล้วต้องเชื่อมโยงข้อมูลเข้ากับศูนย์บริหารจัดการเดินรถด้วยระบบ GPS ของกรมการขนส่งทางบก ผู้ประกอบการและเจ้าของรถหลายรายเริ่มทยอยนำรถเข้าตรวจสภาพและตรวจสอบการติดตั้งและเชื่อมโยงข้อมูล เป็นรถจดทะเบียนใหม่ จำนวนทั้งสิ้น 202 คัน ประกอบด้วย รถโดยสารประจำทางและไม่ประจำทาง จำนวน 14 คัน รถบรรทุกไม่ประจำทาง จำนวน 58 คัน และรถบรรทุกส่วนบุคคลจำนวน 130 คัน

สำหรับในส่วนของการตรวจสภาพและตรวจสอบการเชื่อมโยงข้อมูลของรถที่จดทะเบียนไว้ก่อน วันที่ 25 มกราคม 2559 ซึ่งมีการติดตั้ง GPS ไว้ก่อนแล้วนั้น พบว่า มีรถที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลเข้ากับศูนย์บริหารจัดการเดินรถด้วยระบบ GPS เรียบร้อยแล้ว จำนวนทั้งสิ้น 27,108 คัน เป็นรถโดยสาร จำนวน 2,140 คัน รถบรรทุกไม่ประจำทาง จำนวน 14,289 คัน

และรถบรรทุกส่วนบุคคล อีกจำนวน 10,679 คัน ซึ่งกรมการขนส่งทางบกกำหนดให้ รถโดยสารสาธารณะ รถลากจูง และรถบรรทุกขนาดใหญ่ (10 ล้อขึ้นไป) ที่ติดตั้ง GPS ไว้แล้ว ต้องเชื่อมโยงข้อมูลกับศูนย์บริหารจัดการเดินรถของกรมการขนส่งทางบกให้แล้วเสร็จภายในปี 2559

นายสนิท กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับรถโดยสารสาธารณะที่ยังไม่ได้ติดตั้ง GPS ในส่วนของรถโดยสารสองชั้นกำหนดติดตั้งภายในรอบปีภาษี 2559 ส่วนรถโดยสารสาธารณะประเภทอื่นๆ จะต้องดำเนินการติดตั้งให้ครบถ้วนภายในรอบปีภาษี 2560

สำหรับรถลากจูง กำหนดติดตั้งภายในรอบปีภาษี 2560 รถบรรทุกสาธารณะภายในรอบปีภาษี 2561 และรถบรรทุกส่วนบุคคลให้ระยะเวลาดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในรอบปีภาษี 2562

ทั้งนี้ การนำรถเข้ารับการตรวจสอบการติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูล การเดินทางของรถและตรวจสอบว่าเป็นรุ่นที่ได้รับการรับรอง ต้องมีหนังสือรับรองการติดตั้ง และเครื่องหมายรับรองที่ออกโดยผู้ให้บริการระบบติดตามรถ ที่กรมการขนส่งทางบกให้การรับรอง

ซึ่งเครื่องบันทึกข้อมูลดังกล่าวต้องสามารถแสดงตำแหน่งในพิกัด แสดงความเร็วของรถ แสดงจำนวนชั่วโมงการขับขี่ มีอุปกรณ์ระบุตัวผู้ขับรถ มีระบบเตือนเมื่อใช้รถโดยไม่เปิดเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ

ระบบเตือนการไม่แสดงตัวผู้ขับรถ หรือใช้ใบอนุญาตขับรถ ผิดประเภท หากพบมีการรายงานข้อมูลอันเป็นเท็จ หรือไม่รายงานข้อมูล ตามเงื่อนไขที่กำหนด กรมการขนส่งทางบก จะพิจารณาเพิกถอน การให้การรับรองเครื่องบันทึกข้อมูล การเดินทางของรถ โดยผู้ให้บริการระบบติดตามรถจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ความเสียหายทั้งหมด ที่เกิดขึ้น

โทษปรับ การไม่ติดตั้งหรือถอด GPS ของรถ

การปลดหรือถอดเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ ถือเป็นเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ต้องมีและใช้
หากตรวจพบ

  • ขณะตรวจสภาพรถประจำปี จะไม่ให้ผ่านการตรวจสภาพ
  • ขณะใช้งานบนถนน มีความผิดตามมาตรา 148 มีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท

กฎหมาย GPS เรื่องใกล้ตัว ที่ผู้ประกอบการขนส่งควรทราบ

เรื่องของ GPS เองก็มีการออกมาเป็นกฎหมายเหมือนกันเพื่อให้ทุกคนได้ปฏิบัติตามและที่สำคัญคือผู้ใช้รถใช้ถนนทุกคนจำเป็นต้องรู้จัก กฎหมาย GPS เหล่านี้เพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาภายหลัง

เรื่องกฎหมายเป็นสิ่งสำคัญที่ถูกสร้างขึ้นมาให้ทุกคนปฏิบัติตาม จุดประสงค์หลักที่ทุกคนจำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมายเพราะบ้านเมืองจะได้อยู่อย่างสงบสุข ไม่เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา โดยเราจะเห็นว่าใครก็ตามที่ทำผิดกฎหมายจะต้องถูกลงโทษให้เป็นไปตามสิ่งที่ระบุกันเอาไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแบบชัดเจน เรื่องของ GPS เองก็มีการออกมาเป็นกฎหมายเหมือนกันเพื่อให้ทุกคนได้ปฏิบัติตามและที่สำคัญคือผู้ใช้รถใช้ถนนทุกคนจำเป็นต้องรู้จัก กฎหมาย GPS เหล่านี้เพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาภายหลัง

ตั้งมาตรฐานความปลอดภัยใหม่ด้วยระบบ GPS

ปัจจุบันกรมการขนส่งเองได้มีการยกระดับมาตรฐานเพื่อต้องการสร้างความปลอดภัยให้กับผู้ใช้รถใช้ถนนทุกคน ซึ่งการสร้างความปลอดภัยดังกล่าวนี้ได้มีการนำเอา GPS เข้าไปเกี่ยวข้องด้วยเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้รถใช้ถนนทุกคน รวมไปถึงผู้ใช้บริการขนส่งสาธารณะก็ต้องได้รับความปลอดภัยจากสิ่งนี้เช่นกัน เมื่อเป็นเช่นนี้กรมการขนส่งจึงได้มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับเงื่อนไขการกระทำผิด กฎหมาย GPS แล้วระบุมาตราโทษให้เหมาะสม ซึ่งมีข้อน่าสนใจดังนี้

  • หากมีการขับรถด้วยอัตราความเร็วเกินกำหนดต่อเนื่องยาวนานกว่า 2 นาที gps ติดตามตัว จะถือว่ารถคันนั้นมีความผิดตามมาตรา 111 พรบ. กรมขนส่งทางบก พร้อมด้วยมาตรา 67 พรบ. จราจรทางบกฯ โดยมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 5,000 บาท รถที่ต้องเข้าข่ายประกอบไปด้วย รถบรรทุก กำหนดความเร็วที่ 80 กม. / ชม. รถลากจูง กำหนดความเร็วที่ 60 กม. / ชม. และรถโดยสารปะจำทาง กำหนดความเร็วที่ 80 กม. / ชม.
  • หากมีการขับรถเกินระยะเวลากำหนดในรอบ 24 ชม. โดยการกำหนดขับดังกล่าวนั้นต้องขับได้ติดต่อกันไม่เกินครั้ง 4 ชม. มีการหยุดพักขั้นต่ำ 30 นาที แล้วจึงสามารถขับรถต่อไปได้อีก 4 ชม. หากการหยุดพักไม่ถึง 30 นาที จะไม่ถือว่าเป็นการหยุดพักและเมื่อไหร่ก็ตามที่ขับเกินจากกฎหมายกำหนดจะมีความผิดตามมาตรา 117 พรบ. กรมขนส่งทางบก โดยมีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรืออาจจะมีการสั่งพักใบอนุญาตได้เกินจำนวน 180 วัน
  • หากมีการขับรถโดยไม่ได้แสดงตัวผู้ขับ หรือมีการใช้งานใบอนุญาตรถผิดประเภท มีการฝ่าฝืน ไม่ยอมปฏิบัติตามกฎหมาย จะมีความผิดตามมาตรา 109 กรณีตัวพนักงานขับรถ หากไม่มีการแสดงตัวตน ผู้ตรวจการก็มีอำนาจในการสั่งเพื่อให้มารายงานตัว หรือบางรายอาจทำการพักใบอนุญาตไม่เกิน 180 วัน กับอีกกรณีคือผู้ได้รับใบอนุญาตในการขับรถ แต่ได้ทำการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวระหว่างที่ยังโดนทำการยึดใบอนุญาตขับรถ หากว่ากันตามกฎหมายจราจรทางบกมีการระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับขึ้นอยู่กับเรื่องของเงื่อนไขในการกระทำผิดนั้น ๆ ในส่วนของผู้ประกอบการขนส่งหากไม่ยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขประกอบการขนส่ง มีโทษในการปรับสูงสุดถึง 50,000 บาท
  • กรณีมีการปลดหรือถอดตัวเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถออกไป ต้องถือว่าเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถนั้นเป็นอุปกรณ์ส่วนหนึ่งของรถที่จำเป็นต้องมีและจำเป็นต้องใช้ กรณีพบว่ามีการถอดเครื่องดังกล่าวออกไปจริง ถ้าเป็นตอนตรวจสภาพรถประจำปีจะถือว่าไม่ให้ผ่านการตรวจสภาพรถ แต่ถ้าหากตรวจพบเจอระหว่างขับไปบนท้องถนนจะมีความผิดตามมาตรา 148 โดยมีโทษในการปรับสูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท

นี่ถือเป็น กฎหมาย GPS เบื้องต้นที่คนใช้รถเหล่านี้ทุกคนจำเป็นต้องรู้ หัวใจสำคัญที่ต้องมีกฎหมายดังกล่าวขึ้นมาก็อย่างที่บอกไปคือเป็นการเน้นคามปลอดภัยในเรื่องของการขับขี่ ความปลอดภัยที่ว่าไม่ใช่ความปลอดภัยของรถคันดังกล่าวเพียงคันเดียวแต่ยังต้องรวมถึงความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนนร่วมกันด้วย อย่าลืมว่าความประมาทคือหนทางที่นำไปสู่หายนะได้เสมอ และอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนท้องถนนจำนวนมาสาเหตุหลักมาจากเรื่องความประมาทโยที่ตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม คนขับหลายคนที่มีความคิดว่าทำไมต้องติด GPS อะไรให้มันวุ่นวาย ต้องทำความเข้าใจในเรื่องนี้คือมันเป็นกฎหมายที่ทุกคนต้องถูกบังคับใช้เหมือนกันหมด เปรียบไปแล้วก็เหมือนกฎหมายที่เราใช้งานกันอยู่ทุกวันนี้เพียงแต่นี่ถูกระบุไว้สำหรับคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในเรืองการขับรถต่าง ๆ เท่านั้น

การมีกฎหมายต่าง ๆ ออกมารองรับเกี่ยวกับเรื่องของการขับรถยนต์โดยเฉพาะบรรดารถบรรทุก รถลากจูง และรถโดยสารประจำทางส่วนหนึ่งเพื่อต้องการให้ผู้ขับขี่ทุกท่านปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดอีกนัยหนึ่งก็คือเหมือนเป็นการปรามเอาไว้ก่อนเพราะไม่อยากให้เกิดความเศร้าสลดเกี่ยวกับอุบัติเหตุไม่ว่าจะด้วยเรื่องใดก็ตาม การใช้รถใช้ถนนอย่าคำนึงถึงความสะดวกสบายของตนเองเป็นหลักแต่ควรนึกถึงผู้อื่นที่ใช้ถนนร่วมกับเราด้วย

บอกเลยว่า กฎหมาย GPS ที่ระบุเอาไว้ทั้งหมดนี้หากพบเจอว่ารถคันไหนไม่ปฏิบัติตามมีการจับปรับของจริงไม่มีเว้นแม้แต่คันเดียว จะต่อรองอย่างไรก็ไม่เป็นผลเพราะได้มีกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษรออกมายืนยันเรื่องกฎหมายดังกล่าว มันคือเรื่องดีที่จะช่วยลดอุบัติเหตุในบ้านเราให้น้อยลง ช่วยสร้างถนนที่ปลอดภัยจากการขับขี่ หรือถ้าหากมันเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นจริงอย่างน้อยเราจะได้มีวิธีในการติดตามรถที่สร้างปัญหาแล้วยังไม่รู้ว่าตอนนี้อยู่ไหน

สนใจ เเอดไลน์ LINE : @GeniusGPS

กลับหน้าหลัก